ในยุคที่ทุกอย่างรอบตัวดูเร่งรีบ ทำให้พฤติกรรมของเราเปลี่ยนไป การเอาใจใส่ตนเองหรือสุขภาพก็ลดน้อยลง จึงทำให้ปัจจัยทั้งหลายที่เราละเลย หรือปฏิบัติอย่างเคยชิน กลายเป็นผลร้ายกับตัวเราเอง ทั้งจากภายนอกที่เราสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง หรือกับภายในตัวเรา ที่ผลเสียเกิดขึ้นในเชิงลึกต่อสุขภาพจนถึงระดับเซลล์เลยทีเดียว
ซึ่งผลเสียที่เกิดขึ้นกับเซลล์นั้น ลงลึกไปจนถึงโครโมโซม ที่เป็นตัวบ่งบอกถึงอายุจริงๆของเรา ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วเซลล์จะมีการเสื่อมไปตามอายุ โดยหลังจากที่เซลล์มีการแบ่งตัว ส่วนของปลายโครโมโซมที่เรียกว่า เทโลเมียร์ (Telomere) จะหดสั้นลงเรื่อยๆ (ประมาณ 50 ครั้ง) หลังจากนั้นก็จะไม่สามารถแบ่งตัวได้อีก ทำให้เซลล์นั้นเสื่อมและถูกทำลายไป
จึงสรุปได้ว่า…เทโลเมียร์ ที่เป็นส่วนปลายของโครโมโซม เป็นสิ่งที่บ่งบอกว่า “คุณแก่เกินวัยของคุณหรือไม่?” ซึ่งคงไม่ดีแน่ ถ้าคุณอายุยังน้อย แต่ร่างกายกลับทรุดโทรมเกินกว่าวัยจริงๆ
โดยพฤติกรรมที่ทำให้เซลล์เสื่อมก่อนวัย มีดังนี้
1.ความเครียด ความกังวลอย่างต่อเนื่อง
ความเครียดเป็นกลไกตามธรรมชาติ เพื่อรับมือกับปัญหาหรือสภาวะรอบตัวที่ไม่ปลอดภัย ทันทีที่คุณเกิดความเครียด ร่างกายจะโต้ตอบด้วยการเต้นของหัวใจที่เร็วขึ้น, มีการขับอดรีนาลีนและฮอร์โมนอื่นๆ เข้าสู่กระแสเลือด, กล้ามเนื้อหดเกร็ง, ระบบเผาพลาญอาหารทำงานมากขึ้น ฯลฯ ยิ่งการเครียดเป็นระยะเวลานาน จะยิ่งทำให้ร่างกายทำงานหนักกว่าปกติหลายเท่าเลยทีเดียว
2.การสูบบุหรี่ ทั้งการสูบเอง หรือสูดดม
สารเคมีกว่า 4,000 ชนิด ที่อยู่ในบุหรี่ส่งผลเสียโดยตรงต่อปอดและระบบหายใจ และยังเข้าไปทำให้วงจรการสร้างเม็ดเลือดทำงานได้แย่ลง อันส่งผลให้การนำพาสารอาหารไปสู่ผิวน้อยลง ผิวจึงดูแก่กว่าวัย
3.น้ำหนักส่วนเกิน และไขมันในร่างกายสูง
น้ำหนักส่วนเกินเป็นต้นเหตุของหลายโรคที่จะตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคข้อเสื่อม ฯลฯ อันส่งผลให้ระบบในร่างกายทำงานหนักขึ้น เซลล์ต่างๆ ก็ทำงานหนักตามไปด้วย จนเสื่อมสลายเร็วกว่าที่ควร
4.การดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มมึนเมา
โดยแอลกอฮอล์ที่ตับไม่สามารถย่อยสลายได้อย่างสมบูรณ์ จะตกค้างและกลายเป็นสารพิษทำลายเซลล์ตับ และขัดขวางการทำงานของตับ จนเซลล์ตับเกิดการอักเสบเรื้อรังจนซ่อมแซมตัวเองไม่ได้
5.การนอนน้อย และอดนอนเป็นเวลานาน
การอดนอน หรือนอนน้อย ส่งผลเสียเป็นอย่างมากเพราะเป็นการใช้ร่างกายอย่างหนัก และไม่ได้ฟื้นฟูกลับมาอย่างที่ควรจะเป็น และร่างกายยังลดกระบวนการสร้างสารเมลาโทนิน ที่มีบทบาทสำคัญในการปกป้องเซลล์ผิวหนังของเราจากสารอนุมูลอิสระต่างๆ ส่งผลให้เซลล์ในร่างกายเกิดการอักเสบได้ง่ายขึ้น
6.อาหารจานด่วน แคลลอรี่และไขมันสูง
ในอาการจานด่วนที่มีไขมันสูง ไขมันจะไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ส่งผลเสียในระยะยาวต่อหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนั้นอนุมูลอิสระที่เกิดจากกรดไขมันไม่อิ่มตัว ยังเข้าไปทำลายเซลล์อีกด้วย
La Vie Detox & Wellness Center จึงขอแนะนำ “การตรวจวัดความยาวของเทโลเมียร์ (Telomere length)” โดยการเจาะเลือดเพียงเล็กน้อย (9 ml) เพื่อนำไปสกัด DNA จากเซลล์เม็ดเลือดขาว และทำการตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธี Quantitative PCR (qPCR) ซึ่งผลที่ได้คือ ข้อมูลความยาวโดยเฉลี่ยของเทโลเมียร์ในร่างกาย เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลของประชากรส่วนใหญ่ในวัยเดียวกัน
Telomere Test (ตรวจวัดความยาวเทโลเมียร์) นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรา หรือทราบถึงแนวทางการรักษาด้วยแพทย์ รวมไปถึงการใช้ยาที่เหมาะสมเพื่อชลอและป้องกันการเสื่อมของเซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับผู้ที่สนใจในการติดตามผล จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ควรพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ และตรวจวัดความยาวของเทโลเมียร์ ทุกๆ 6 เดือนนะคะ